วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559

32.องค์การสหประชาชาติ

องค์การสหประชาชาติ
1x42.gif
องค์การสหประชาชาติ ก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 เมื่อประเทศสมาชิกผู้ริเริ่มก่อตั้ง 51 ประเทศ ให้สัตยาบันต่อกฎบัตรสหประชาชาติ
ในการก่อตั้งสหประชาชาติเกิดขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเริ่มจากวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ผู้แทนประเทศสัมพันธมิตร ได้แก่ สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพแอฟริกาใต้ และผู้แทนของรัฐบาลผลัดถิ่น 8 ประเทศ ได้แก่ เบลเยียม เชกโกสโลวาเกีย กรีซ ลักเซมเบิร์ก ฮอลันดา นอร์เวย์ ยูโกสลาเวีย และผู้แทนของนายพล เดอโกลด์แห่งประเทศฝรั่งเศส
ได้ร่วมลงนามในปฏิญญาลอนดอน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นการประกาศเจตนารมณ์ ที่จะร่วมกันต่อต้านการรุกรานของเยอรมนี รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือในทางเศรษฐกิจและสังคม
ต่อมาในวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1941 นาย แฟรงคลิน ดี รูสเวลต์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาและนายวิลส์ตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้ร่วมกันลงนามในกฎบัตรแอตแลนติก เรียกร้องให้มีสันติภาพและเคารพสิทธิของประชาชน
ซึ่งคำว่า "สหประชาชาติ" เริ่มใช้เป็นครั้งแรกจากเอกสาร "คำประกาศโดยสหประชาชาติ" ที่ประเทศมหาอำนาจ อันได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหภาพโซเวียต และจีน ได้ร่วมลงนามในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1942
    ในวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1943 ผู้แทนของสหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร จีน และสหรัฐอเมริกา ลงนามในปฏิญญามอสโก ประกาศเจตนารมณ์ร่วมกัน ในการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศ บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน และได้ร่วมกันประชุมเกี่ยวกับการร่างกฎบัตรสหประชาชาติ ระหว่างวันที่ 21 สิงหาคม – วันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1944 ณ คฤหาสน์ดัมบาร์ตันโอกส์ กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา
ร่วมกันร่างข้อเสนอดัมบาร์ตันโอกส์ เพื่อเป็นโครงสร้างในการก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศ และเห็นชอบที่จะใช้หลักการประกันความมั่นคงร่วมกัน เป็นแนวทางการป้องกันหรือหยุดยั้งสงคราม
ต่อมาวันที่ 4-11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 นายแฟรงคลิน ดี รูสเวลต์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา นายวิลส์ตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรี และโจเชฟ สตาลิน ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียตร่วมประชุม ณ เมืองยัลตา แหลมไครเมีย ในสหภาพโซเวียต
เพื่อพิจารณาข้อเสนอดัมบาร์ตันโอกส์ และรายละเอียดในการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศ โดยเรียกชื่อว่า สหประชาชาติ
     วันที่ 25 เมษายน – 25 มิถุนายน ค.ศ. 1945  ผู้แทนจาก 50 ประเทศ ประชุมเพื่อพิจารณาอนุมัติร่างกฎบัตรสหประชาชาติ  ณ นครซานฟรานซิสโก ซึ่งที่ประชุมได้รับรองกฎบัตรด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ และได้ร่วมลงนาม และต่อมาโปแลนด์ได้ร่วมลงนามเป็นประเทศที่ 51 โดยวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 เป็นวันที่กฎบัตรสหประชาชาติมีผลบังคับใช้
วัตถุประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ          
    องค์การสหประชาชาติได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 เมื่อกฎบัตรสหประชาชาติมีผลบังคับใช้ กฎบัตรสหประชาชาติได้กำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การสหประชาชาติไว้ ดังนี้
1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติ และ ความมั่นคงระหว่างประเทศ
2. เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประชาชาติทั้งปวง โดยยึดการเคารพต่อหลักการแห่งสิทธิอันเท่าเทียมกัน
3. เพื่อให้บรรลุถึงความร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม หรือ มนุษยธรรม และ การส่งเสริมสนับสนุนการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน และ เสรีภาพขั้นมูลพื้นฐานสำหรับทุกคนโดยไม่เลือกปฎิบัติในเรื่องเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือ ศาสนา
4. เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับการประสานงานของประชาชาติทั้งหลายให้กลมกลืนกันในอันที่จะบรรลุจุดหมายปลายทางร่วมกัน
   กล่าวได้ว่าองค์การสหประชาชาติก่อตั้งขึ้นมาด้วย เจตนารมณ์ที่จะขจัดภัยพิบัติอันเกิดจากสงคราม ประกันสิทธิมนุษยชน ตลอดจนส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของมวลมนุษยชาติ         
หลักการขององค์การสหประชาชาติ                 
   เพื่อให้องค์การสหประชาชาติสามารถดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ กฎบัตรสหประชาชาติได้วางหลักการที่องค์การสหประชาชาติ และ ประเทศสมาชิกจะพึงยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินการระหว่างประเทศ ดังนี้
1. หลักความเสมอภาคในอธิปไตย รัฐย่อมมีอำนาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์
2. หลักความมั่นคงร่วมกัน เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และ ความมั่นคงร่วมกัน ดำเนินมาตรการร่วมกัน เพื่อป้องกัน และขจัดการคุกคามต่อสันติภาพ
3. หลักเอกภาพระหว่างมหาอำนาจ ซึ่งได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศษ รัสเซีย และ จีน
4. หลังการไม่ใช้กำลัง และ การระงับกรณีพิพาทโดยสันติวิธี
5. หลักความเป็นสากลขององค์การ เปิดกว้างแก่รัฐที่รักสันติทั้งปวง
6. หลักการเคารพเขตอำนาจศาลภายใน ปัญหาใดที่ประเทศสมาชิกอ้างว่าเป็นกิจการภายใน สหประชาชาติจะไม่มีสิทธิหรืออำนาจเข้าแทรกแซง


1x42.gif

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

33.องค์การนาโต้

องค์การนาโต้
1x42.gif


เมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2492 (ค.ศ. 1949) สหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆ ในยุโรปรวม 12 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา เบลเยียม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอรเวย์ และโปรตุเกส ได้ร่วมกันลงนามในสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ the North Atlantic Treaty ก่อตั้ง องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้ ขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2492   
   วัตถุประสงค์เริ่มแรกก่อตั้ง คือ เพื่อจัดตั้งระบบพันธมิตรทางทหารในการถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ สหภาพโซเวียต และให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกในกรณีที่ประเทศสมาชิกถูกคุกคามจากภายนอก ตลอดจนส่งเสริมความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ
    ปัจจุบัน นาโต้มีสมาชิก 26 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา เบลเยียม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส กรีซ ตุรกี เยอรมนี สเปน เช็ก ฮังการี โปแลนด์  บัลแกเรีย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย สโลวาเกีย สโลวีเนีย และโรมาเนีย


โครงสร้างของนาโต้
  1. องค์กรฝ่ายพลเรือน
    1. คณะมนตรีแอตแลนติกเหนือ เป็นองค์กรหลักรับผิดชอบต่อการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ของนาโต้ที่เกี่ยวกับการตีความสนธิสัญญาและการนำไปปฏิบัติ คณะมนตรีฯ ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศสมาชิก มีการประชุมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
    2. สำนักงานเลขาธิการนาโต้ตั้งอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม มีหน้าที่บริหารงานทั่วไปขององค์กร รวมถึงการวางแผนนโยบาย หัวหน้า สนง. / เลขาธิการนาโต้ คนปัจจุบัน คือ นาย Jaap de Hoop Scheffer (อดีต รมว. กต. เนเธอร์แลนด์) เข้ารับตำแหน่งเมื่อปี 2547
  2. องค์กรฝ่ายทหาร คณะกรรมาธิการทางทหาร มีหน้าที่ให้คำแนะนำด้านการทหารแก่คณะมนตรีและผู้บัญชาการกองกำลังผสม ประกอบด้วยเสนาธิการทหารของทุกประเทศภาคี ยกเว้นฝรั่งเศส และไอซ์แลนด์ (ซึ่งไม่มีกำลังทหาร มีการประชุมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยนาโต้ได้แบ่งเขตยุทธศาสตร์ตามภูมิศาสตร์เป็น 3 เขต คือ
    1. เขตยุโรป อยู่ภายใต้การดูแลของผู้บัญชาการกองกำลังผสมยุโรป โดยมีกองบัญชาการ เรียกว่า Supreme Headquaters Allied Powers Europe ประกอบด้วยกองกำลังเคลื่อนที่เร็วจากประเทศสมาชิก ซึ่งพร้อมจะปฏิบัติการได้ทันที เขตการรับผิดชอบ คือ แอฟริกาเหนือ เมดิเตอร์เรเนียน ยุโรปกลาง และยุโรปเหนือ ยกเว้นโปรตุเกส และสหราชอาณาจักร SHAPE มีกองบัญชาการย่อยในยุโรปเหนือที่เมืองโคสชัส ประเทศนอรเวย์ ในยุโรปกลางที่เมืองบรุนส์ชุน ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในยุโรปใต้ที่เมือง Naples ประเทศอิตาลี
    2. เขตแอตแลนติก อยู่ภายใต้การดูแลของ Supreme Allied Commander Atlantic เขตการรับผิดชอบตั้งแต่ขั้วโลกเหนือถึงเส้น Tropic of Cancer และจากฝั่งสหรัฐอเมริกาถึงยุโรป SACLANT มีหน้าที่หลักในการพิทักษ์เส้นทางเดินเรือในเขตแอตแลนติก ซึ่งเน้นลักษณะการปฏิบัติการกองกำลังทัพเรือแอตแลนติก มีกองบัญชาการตั้งอยู่ที่ Norfolk สหรัฐฯ
    3. เขตช่องแคบ อยู่ภายใต้การดูแลของ Allied Commander in Chief Channel – CINCHAN เขตการรับผิดชอบบริเวณช่องแคบอังกฤษ และทะเลเหนือตอนใต้ ทำหน้าที่คุ้มครองป้องกันเรือพาณิชย์ในเขตประสานงานกับ SACEUR ในการป้องกันภัยทางอากาศในเขตช่องแคบ CINCHAN มีกองกำลังเรือรบอยู่ภายใต้การควบคุมเรียกว่า Standing Naval Force Channel มีกองบัญชาการอยู่ที่ Nortwood สหราชอาณาจักร
1x42.gif

34.องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ

องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ
1x42.gif
สนธิสัญญาวอร์ซอ เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อคานอำนาจกับองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ระหว่างสงครามเย็น เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อคานอำนาจกับองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ระหว่างสงครามเย็น
   สหภาพโซเวียตโจมตีว่า องค์การนาโต้มีวัตถุประสงค์เพื่อรุกราน จึงได้ตั้งองค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ ขึ้นในปี ค.ศ. 1955 ชื่อเต็มและชื่ออย่างเป็นทางการ เรียกว่า Warsaw Treaty on Friendship Cooperation and Mutual Aid or Warsaw Treaty Organization
   องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ มีบทบัญญัติทำนองเดียว กับข้อ 5 ของ องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ที่ว่า การโจมตีสมาชิกรัฐใดรัฐหนึ่ง จะถือว่าเป็นการโจมตีรัฐสมาชิกทั้งหมด
และข้อ 5 ของบทบัญญัติ ยังได้ระบุถึง การบัญชาการทหารร่วมกันด้วย สนธิสัญญาวอร์ซอ ได้ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการที่กรุงปราก ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991)
องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ มีสมาชิก 7 ประเทศ คือ สหภาพโซเวียตรัสเซีย บัลแกเรีย  เชโกสโลวะเกีย เยอรมนีตะวันออก ฮังการี โปแลนด์ และโรมาเนีย  สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงมอสโก ประเทศสหภาพโซเวียตรัสเซีย
ยุคหลังสนธิสัญญาวอร์ซอ
    อดีตประเทศสมาชิกสนธิสัญญาวอร์ซอส่วนใหญ่ได้หันไปเข้าร่วมกับ องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ โดยวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1999 ประเทศ ฮังการี เช็ค และ โปแลนด์ ได้เข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ และในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2004 บัลกาเรีย เอสโตเนีย ลัทเวีย ลิทัวเนีย โรมาเนียและสโลวเกีย ก็ได้เข้าร่วมเช่นเดียวกัน
กติกาของสัญญาวอร์ซอ
   องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอเป็นปฏิกิริยาของกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ที่แสดงตอบโต้กลุ่ม-ประเทศเสรีประชาธิปไตย ซึ่งทำให้กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียต แต่ต่อมาประเทศสมาชิกหลายประเทศได้พยายามปฏิรูปการปกครองของตนเองให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น จนกระทั่งปลาย ค.ศ.1991 สหภาพโซเวียตได้ล่มสลายลง องค์การสนธิ-สัญญาวอร์ซอจึงต้องยุติลงไปโดยปริยาย



1x42.gif

35.องค์การของสนธิสัญญาซีโต้

องค์การของสนธิสัญญาซีโต้
1x42.gif


ซีโต้ South East Asia Collection Defence Treaty คือ องค์การของสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สปอ.)
การลงนาม ในสนธิสัญญามีขึ้น เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1954 ที่กรุงมนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
จึงรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่ากติกามนิลา มีสมาชิก คือ  ไทย สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ และฝรั่งเศส  
จุดประสงค์ เพื่อยับยั้งการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ มายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ซีโต้ก่อตั้งขึ้นในระหว่างการประชุมคณะมนตรีสนธิสัญญาในกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 23 – 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955
เหตุการณ์หลังสงครามโลกครั้งที่  2
    สหรัฐอเมริกาเสียหายน้อยกว่าประเทศคู่สงครามในยุโรป ทั้งยังเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสูง และเป็นประเทศแรก ที่สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีความรู้สึกว่า ตนเป็นตำรวจโลก เพื่อพิทักษ์ไว้ซึ่งวิถีทางประชาธิปไตยและเสรีภาพ
    หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียต ฟื้นตัว อย่างรวดเร็ว เพราะพื้นที่กว้างใหญ่มีทรัพยากรธรรมชาติมาก สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้สำเร็จ
สหภาพโซเวียตต้องการเป็นผู้นำในการปฏิวัติโลก เพื่อสถาปนาระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
ดังนั้น ทั้งสองอภิมหาอำนาจ จึงใช้ความช่วยเหลือที่ให้แก่ประเทศต่างๆ เป็นเครื่องมือในการขยายอิทธิพล อำนาจ และอุดมการณ์ของตน เพื่อหาประเทศที่มีอุดมการณ์คล้ายคลึงกันมาเป็นเครื่องถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายตรงข้าม
การขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มจากอินโดจีน คือ ประเทศเวียดนาม เขมร และลาว ซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเทศฝรั่งเศส
เวียดนามถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยใช้เส้นขนานที่ 17 องศาเหนือเป็นเขตแบ่งชั่วคราว เวียดนามเหนืออยู่ใต้การปกครองของลัทธิคอมมิวนิสต์ มีโฮจิมินห์เป็นผู้นำ เวียดนามใต้ปกครองระบอบประชาธิปไตย มีโงดินห์เดียมเป็นผู้นำ (ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา)
โดยให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในเวลา 1 ปี เพื่อรวมเวียดนามเป็นประเทศเดียวกัน แต่การเลือกตั้งก็ไม่ได้เกิดขึ้น เพราะเกิดการสู้รบระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้
   การขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาในอินโดจีน ทำให้สหรัฐอเมริกานำนโยบายล้อมกรอบการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์มาใช้ในเอเซียด้วย
นายจอห์น ฟอสเตอร์ ดัลเลส รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาขณะนั้นประกาศอย่างแข็งขันว่าจะไม่ยอมให้ลัทธิคอมมิวนิสต์ขยายตัวต่อไป
โดยเชื่อมั่นในทฤษฏีโดมิโนว่า ถ้าประเทศใดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคอมมิวนิสต์แล้ว ประเทศใกล้เคียงอื่นๆ ก็จะพลอยเป็นคอมมิวนิสต์ไปด้วย
ในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ.1954 จึงได้มีการสนธิสัญญาที่กรุงมะนิลา เพื่อจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
โดยประกอบด้วย 8 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ไทย ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ด้วยวัตถุประสงค์ทำนองเดียวกับนาโต้
   ซีโต้ยุบเลิกเมื่อปี พ.ศ. 2520 เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองของโลกได้เปลี่ยนไปมาก สหรัฐอเมริกาถอนกำลังทหารออกจาก เวียดนามใต้
และรัฐบาลที่อเมริกาสนับสนุนประสบความพ่ายแพ้ทั้งในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา และทำให้องค์การซีโต้หมดความจำเป็น ในฐานะเครื่องมือในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคนี้



1x42.gif

36.ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด

ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
1x42.gif
  ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีนโยบายว่าจะไม่เป็นพันธมิตรหรือต่อต้านกับขั้วอำนาจฝ่ายใด
เป็นผลสืบเนื่องจากแนวคิดของนายเยาวหราล เนห์รู นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย, ญามาล อับดุลนาเซร์ อดีตประธานาธิบดีของอียิปต์ และยอซีป บรอซ ตีโต ประธานาธิบดีของยูโกสลาเวีย  ดร.ซูการ์โน ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ประธานาธิบดีควาเมห์ เอนครูมา แห่งกานา
ขบวนการนี้ก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 1995 มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้นนับถึงปี ค.ศ. 2007 จำนวน 118 ประเทศ ซึ่งเป็นตัวแทนของจำนวนสมาชิกในสหประชาชาติถึง 2 ใน 3 และมีจำนวนประชากรรวม 55% ของประชากรทั้งโลก ส่วนใหญ่แล้วเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า กลุ่มโลกที่สาม
    กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ก่อตั้งเมื่อปี 1961 มีจุดเริ่มต้นมาจากการรวมตัวกันของผู้นำ 5 ประเทศ ได้แก่ พม่า ปากีสถาน ศรีลังกา อินเดีย และอินโดนีเซีย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ระหว่างประเทศในยุคสงครามเย็น หลังจากนั้น การประชุมได้ขยายวงกว้างออกไปสู่กลุ่มประเทศในทวีปเอเชียและแอฟริกาที่ได้รับผลกระทบจากการตกเป็นอาณานิคม
     ปัจจุบัน "นาม" (NAM) มีสมาชิก 120 ประเทศ คือ เอเชียและแปซิฟิก 39 ประเทศ แอฟริกา 53 ประเทศ ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 26 ประเทศ และยุโรปตะวันออก 2 ประเทศ และมีผู้สังเกตการณ์อีก 17 ประเทศและองค์การ
โดยในปี พ.ศ. 2555 อิหร่านในฐานะประเทศเจ้าภาพจะทำหน้าที่ประธานกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด(ครั้งที่ 16) จนถึงปี ค.ศ. 2015   
      ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เกิดจากประชุมที่บันดุง ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี ค.ศ. 1955 ต่อมาได้มีการประชุมอย่างเป็นทางการที่ กรุงเบลเกรด ประเทศยูโกสลาเวีย  เมื่อปี ค.ศ. 1961 มีประเทศเข้าร่วมประชุม 29 ประเทศ รวมประเทศไทยด้วย
     ในการประชุมครั้งที่ 2 จำนวนสมาชิก เพิ่มเป็น 47 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา หรือประเทศยากจน หรือประเทศในโลกที่สาม มีการประชุมที่เมือง ไคโร ประเทศอิยิปต์
     ครั้งที่ 10 จัดขึ้นที่ กรุงจาการ์ตา มีสมาชิกเพิ่มเป็น 108 ชาติ รวมเป็นกลุ่มที่มิได้ก่อตั้งเป็นรูปธรรมเหมือนองค์กรอื่นๆ แต่จะมีความผูกพันในด้านคุณธรรมของสมาชิกที่มีความยึดมั่นต่อกัน
     อยาตอลเลาะห์ อาลี คอเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่านเปิดการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (นาม) ครั้งที่ 16   ที่กรุงเตหะราน ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555
มีผู้นำและตัวแทนจาก 50 ประเทศเข้าร่วม อยาตอลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดอิหร่าน กล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุมว่า การประชุมครั้งนี้ เพื่อสร้างความมีชีวิตชีวาและแนวคิดใหม่ๆ
พร้อมกับเน้นย้ำว่า อิหร่านจะไม่ผลิตอาวุธนิวเคลียร์ เนื่องจากเป็นบาปอันใหญ่หลวงและไม่สามารถให้อภัยได้ แต่จะไม่ละทิ้งสิทธิในการผลิตพลังงานนิวเคลียร์
เพราะอาวุธนิวเคลียร์ไม่ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงและอำนาจทางการเมือง แต่เป็นภัยต่อทั้ง 2 สิ่ง และได้กล่าวถึงโครงสร้างคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ว่าไม่เป็นธรรม ไม่สมเหตุสมผล และเอื้อให้สหรัฐแสดงพฤติกรรมอันธพาลบนเวทีโลก

1x42.gif

37.สหภาพยุโรป

สหภาพยุโรป
1x42.gif
สหภาพยุโรป European Union  หรือ  EU  พัฒนามาจาก ประชาคมยุโรป ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวมองค์การทางเศรษฐกิจ 3 องค์การเข้าด้วยกัน คือ ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป หรือตลาดร่วมยุโรป และประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรป จัดตั้งขึ้นเพื่อยกระดับทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปให้ดีขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือของประเทศสมาชิกซึ่งเป็นกลุ่มในประเทศยุโรป
    วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
1. เพื่อรวบรวมระบบเศรษฐกิจ ความร่วมมือในการพัฒนาสังคม และการปกครองแบบประชาธิปไตยของประเทศสมาชิกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว
2. เพื่อยกระดับการดำรงชีวิตของประชากรขาวยุโรปให้ดีขึ้น
3. เพื่อจัดตั้งสหภาพศุลกากรโดยการขจัดอุปสรรคต่างๆ ทางการค้าระหว่างประเทศ
ก่อนเดือนมกราคม 1993 ตลาดยุโรปเป็นตลาดไร้พรมแดน และมีการใช้เงินสกุลเดียวกัน คือ เงินยุโรป EURO ซึ่งเริ่มใช้อย่างเป็นทางการ เมื่อ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2002  ใน 13 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน โปรตุเกส เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก ไอร์แลนด์ ฟินแลนด์ ออสเตรีย อิตาลี เนเธอร์แลนด์ และกรีก ส่วนเดนมาร์ก  สวีเดน และสหราชอาณาจักร ยังคงใช้สกุลเงินของตนเองอยู่
   สหภาพยุโรปประกอบไปด้วยรัฐอิสระ 27 ประเทศ เป็นที่รู้จักกันในสถานะรัฐสมาชิก: ออสเตรีย เบลเยียม บัลแกเรีย ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอร์แลนด์ อิตาลี ลัตเวีย ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย สโลวาเกีย สโลวีเนีย สเปน สวีเดน และสหราชอาณาจักรปัจจุบันมีประเทศสมัครเข้าเป็นสมาชิก 3 ประเทศคือ โครเอเชีย มาซิโดเนียและตุรกี
สหภาพยุโรปในประชาคมโลก
      สหภาพยุโรปกำลังพยายามพัฒนา European Identity ในระบบความมั่นคงของภูมิภาคยุโรปทั้งโดยการพัฒนา CF SP และการปรับทิศทางองค์กรด้านความมั่นคงอื่น ๆ ในยุโรป รวมทั้งขยายความร่วมมือและบทบาทด้านความมั่นคงใน
      สหภาพยุโรปกำลังดำเนินการและเจรจาขยายการจัดตั้งเขตการค้าเสรีทั้งภายในและ ภายนอกภูมิภาคยุโรปอย่างมาก  โดยใช้เป็นกลยุทธ์สำคัญในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ ปัจจุบันสหภาพยุโรปมีความตกลงการค้าเสรีกับประเทศยุโรปกลางและตะวันออก และกำลังเจรจาเพื่อมีความตกลงการค้าเสรีกับกลุ่มประเทศเมดิเตอร์-เรเนียน ละตินอเมริกา และแอฟริกาหลายประเทศ และกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง Trans-Atlantic Market Place
เงินยูโร
    ยูโร เป็นสกุลเงินที่ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป 13 ประเทศตกลงใช้ร่วมกัน เริ่มใช้วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
    ยูโรโซน  เงินยูโรเป็นผลมาจากความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจที่ได้รับการพัฒนาในยุโรปมา ตั้งแต่ยุคสมัยโรมัน แม้กระนั้นเงินยูโรก็ยังสามารถพบเห็นได้ทั่วไปเหมือนกับเป็นการค้าขายสำหรับ ตลาดของยุโรป อำนวยความสะดวกในการค้าขายแลกเปลี่ยนอย่างอิสระภายในยูโรโซน โดยเงินสกุลนี้ยังได้รับการดูแลจากผู้ก่อตั้ง ให้เป็นส่วนสำคัญของโครงการของการการรวมอำนาจทางการเมืองของยุโรป
    เงินยูโรยังสามารถใช้ในการชำระหนี้ในอาณาเขตนอกอียูบางแห่ง ประเทศโมนาโก ประเทศซานมาริโน และนครรัฐวาติกัน ซึ่งเคยใช้ฟรังค์ฝรั่งเศส หรือลิซาอิตาลี เป็นสกุลเงินทางการ ตอนนี้ได้เปลี่ยนมาใช้สกุลยูโรแทน และได้รับสิทธิ์ในการผลิตเหรียญในสกุลยูโรในจำนวนเงินน้อย ๆ แม้ว่าประเทศเหล่านี้จะไม่ได้เป็นสมาชิกของอียู นอกจากนี้แล้วยังมี ประเทศอันดอร์รา และ รัฐมอนเตเนโกรและรัฐโคโซโว ในประเทศเซอร์เบียและมอนเตเนโกร ที่สามารถใช้เงินยูโรได้
วัตถุประสงค์พื้นฐานในการจัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจและการเงินยุโรป
  1.เพื่อลดความผันผวนที่เกิดขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศสมาชิก
  2.เพื่อสนับสนุนการค้าและการลงทุนทั้งภายในและนอกภูมิภาค
  3.เพื่อให้ทุกประเทศสามารถแข่งขันในการดึงดูดการลงทุนที่เท่าเทียมกัน
  4.เพื่อลดต้นทุนการผลิตและขยายความสามารถในการแข่งขันของประเทศสมาชิก                                                   
  5.เพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเงินโดยผ่านธนาคารกลางยุโรปที่จะจัดตั้งขึ้น


1x42.gif

39.อาณาจักรโบราณในประเทศไทย

อาณาจักรโบราณในประเทศไทย1x42.gif
อาณาจักรโบราณในประเทศไทยที่จารึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษณ์มีดังนี้
1. อาณาจักรทวารวดี เป็นอาณาจักรที่มีความเจริญในภาคกลาง มีความเจริญด้านพระพุทธศาสนา รวมถึงความเจริญทางด้านศิลปกรรม มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง นอกจากนั้นยังมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านเศรษฐกิจ โดยเป็นศูนย์กลางด้านการค้าที่สำคัญ
2. อาณาจักรละโว้ เป็นแหล่งชุมชนที่มีความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจเป็นแหล่งน้ำ มีการติดต่อค้าขายทางทะเลสะดวก ละโว้ได้รับอิทธิพลจากศิลปะขอม เรียกว่า คิลปะลพบุรี เช่น พระปรางค์สามยอด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างความเชื่อของศาสนาพุทธและฮินดู จนมีการล่มสลายเมื่อถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยา
3 .อาณาจักรฟูนัน เป็นอาณาจักรที่เก่าแก่ที่สุดในดินแดนสุวรรณภูมิ มีการนำความเชื่อทางศาสนา พราหมณ์-ฮินดูมาใช้ มีจุดศูนย์กลางอยู่แถบลุ่มน้ำโขงในประเทศเขมรปัจจุบัน มีการปกครองแบบเทวราชา ยกย่องพระมหากษัตริย์เป็นเทพเจ้า รวมถึงความเจริญทางด้านการค้า ความเสื่อมของอาณาจักรฟูนันเกิดจากการุกรานของอาณาจักรเจนละ
4. อาณาจักรตามพรลิงค์ ตั้งบนคาบสมุทรในภาคใต้ฝั่งตะวันออกของไทย มีนครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรในช่วงศตวรรษ 18 มีศาสนาพุทธ ลัทธิลังกาวงศ์เจริญและรุ่งเรืองมาก อยู่ในฐานะเมืองขึ้นของสุโขทัยนานถึง 56 ปี
5. อาณาจักรศรีวิชัย ตั้งอยู่บริเวณเกาะชวา เกาะสุมาตรา คาบสมุทรมลายู และบางส่วนของภาคใต้ในประเทศไทย กลางพุทธศตวรรษที่ 14 พระพุทธศาสนานิกายมหายาน และศิลปะศรีวิชัยได้แผ่ขยายเข้ามา
6. อาณาจักรโคตรบูร ตั้งขึ้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเชื่อดั้งเดิม คือ นับถือผี บูชาพญานาค นับถือศาสนาพุทธแบบเถรวาท
7. อาณาจักรหริภุญชัย เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา เมื่อก่อตั้งมาได้ประมาณ 632 ปี ได้ตกอยู่ในอำนาจของพ่อขุนมังรายจากเชียงราย
8. อาณาจักรโยนกเชียงแสน ตั้งอยู่บนบริเวณเหนือสุดของประเทศไทย พระเจ้าสิงหนวัติเป็นผู้สร้างเมือง มีความเจริญรุ่งเรืองด้านประติมากรรม เอกลักษณ์คือ ประติมากรรมศิลปะเชียงแสน
9. อาณาจักรล้านนา ผู้ก่อตั้งคือ พระยาเม็งราย ได้สร้างเมืองหลวงที่เมืองนครพิงค์เชียงใหม่ เป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในเขตภาคเหนือในทุกด้าน

10. อาณาจักรขอม ก่อตั้งโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 โดยศูนย์กลางอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในเขตประเทศเขมร เป็นอาณาจักรที่มีอาณาเขตกว้างขวางมาก รวมทั้งความเจริญด้านศาสนาผสมผสานระหว่าง ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูกับพระพุทธศาสนา